Friday, November 2, 2012

เทคนิคการชงชาแบบคนจีน


เทคนิคการชงชาแบบคนจีน
ในการชงชาแบบคนจีนนั้น เขาจะมีเทคนิคในการสกัดตัวยาในช่วงเวลาเพียงสั้นๆ ด้วยน้ำร้อน เพื่อให้สารที่เราต้องการไม่ถูกน้ำร้อนขจัดออกไป นอกจากนั้นยังช่วยรักษากลิ่นรส ที่ต้องการของสมุนไพรเอาไว้ด้วย

วิธีการชงชา
1. ใส่ใบชาแห้งลงในกา กะประมาณ 1/3 ของปริมาณกา
2. รินน้ำเดือดลงในกาก่อนครั้งแรก แล้วทิ้งไว้ประมาณ 3 วินาที เพื่อล้างและอุ่นใบชา
3. รินน้ำเดือดลงในกาอีกรอบจนเต็ม แล้วปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วแต่ว่าชอบเข้มหรือจาง ถ้าชอบเข้มก็ทิ้งไว้นาน ชอบจางก็ทิ้งไว้สักครู่
4.  รินน้ำชาใส่แก้วดื่ม ควรรินครั้งเดียวให้หมดกา เพราะจะได้ไม่เสียรสชาติ ส่วนใบชาที่เหลือสามารถชงได้อีก 3-4 คร้ัง แต่ควรเพิ่มเวลาในการแช่ออกไป เพราะรสชาติและคุณค่าอาจจางลง
5. หากไม่มีกาน้ำชา ก็ใช้แก้วแทนได้ โดยใส่ใบชาลงไป 1/3 ของแก้ว แล้วเทน้ำร้อนลงไปก่อนสักครึ่งแก้ว สัก 3 วินาที แล้วเทน้ำทิ้ง จากนั้นก็ให้เทน้ำร้อน
ลงไปจนเต็มแก้ว ทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วแต่ว่าชอบความเข้มหรือจาง แล้วรินเอาแต่น้ำดื่ม
6. ในการดื่มชา ควรดื่มครั้ง 1 แก้ว สำหรับชาที่มีคุณสมบัติในการรักษาโรคที่รุนแรง ไม่ควรดื่มต่างน้ำ เพราะอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น ใจสั่น เป็นต้น
7. หากต้องการเปลี่ยนรสชาติ อาจนำชาสัก 2-3 ชนิดมาผสมกันเพื่อให้เกิดรสชาติแปลกใหม่ก็ได้ เช่น ชาตะไคร้ผสมกับชาใบเตย หรือชาขิงกับชากุหลาบ เป็นต้น

วิธีการเก็บรักษาใบชา
ใบชานั้น ควรเก็บในที่แห้ง และภาชนะที่มีฝาปิดสนิท เช่น
1. ภาชนะทึบแสงที่ไม่สามารถมองเห็นใบชาและไม่ให้แสงลอดผ่านได้
2. ถ้าบรรจุในซองฟอยล์ ควรรีดลมออกให้หมด แล้วม้วนเก็บไว้ให้แน่น
3. ภาชนะที่ใส่ต้องสะอาดมไม่มีกลิ่นใดๆ เพราะชาจะดูดกลิ่นได้ ทำให้เสียรสชาติ
4. ภาชนะที่บรรจุต้องแห้ง ไม่อับชื้น และทุกครั้งที่เปิดใช้ต้องปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้อากาศเข้า


Friday, September 2, 2011

วิธีการชงชาของญี่ปุ่น

วิธีชงชาของญี่ปุ่น เรียกว่า ชะโนยุ (cha-noyu )

ชาเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายในญี่ปุ่นโดยพระภิกษุนิกายเซน ชื่อ ท่านเอไซ จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้นั่งเข้าฌานได้นานๆ ด้วยเหตุนี้พระจึงนิยมดื่มกันก่อนชาวบ้านทั่วไป ชาเขียวที่นิยมดื่มได้แก่ เซนชะ (sencha) โฮจิชะ (Houjicha)บันชะ (Bancha) และชาที่ถือว่าเป็นชาชั้นเยี่ยมคือ เกียวกุโระ (Gyokuro) และท่านเอไซก็เป็นผู้ริเริ่มพิธีชงชา ที่เรียกว่า วะบิชะ (wabicha)

วิธีการชงชาของญี่ปุ่น

ชะโด (chadou) แปลว่าวิถีแห่งชา คือวิธีการชงชา ที่มีพื้นฐานมาจากความเคารพ และชื่นชมความงามของสรรพสิ่งในวิถีชีวิต ส่วนท่านเซนโนะ ริคิว (sen no Rikyu )เป็นผู้หนึ่งที่มีชื่อเสียงในการชงชา ลูกหลานขอท่านได้ตั้งสำนักเซนเคะ (senke) ซึ่งทำให้พิธีชงชาได้สืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน และเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลก...

ขั้นตอนวิธีชงชาของญี่ปุ่น
การชงชาเริ่มจากเจ้าภาพตักชาเขียวป่น(Matcha) ลงในถ้วยชา (chawan) จากนั้นตักน้ำร้อนจากหม้อต้มใส่ลงไป แล้วใช้ไม้สำหรับคนชา (chasen) คนจนชาเป็นฟอง แล้วยกถ้วยชาส่งให้บรรดาแขก เมื่อแขกคนแรกรับถ้วยชาม
ก็จะหันไปกล่าวขอโทษแขกคนถัดไปที่ตนเป็นผู้ดื่มชาก่อน แล้วหันไปคำนับเจ้าภาพเป็นการขอบคุณจากนั้นจึงยกถ้วยชาขึ้นดื่ม

ขนมที่ใช้ทานคู่กันในการดื่มชา
เป็นขนมหวาน เรียกว่า วากาชิ (wagashi) ได้แก่...
ขนมโยกัน (Yokun) เป็นเจลลี่ถั่วแดงหวาน
ขนมมันจู (Manju) คือซาลาเปาบ้านเรานั่นเอง
ขนมซากุระโมชิ (sakuramoshi) เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวไส้ถั่วแดงห่อด้วยใบ
ซากุระหมักเกลือ แสดงถึงฤดูใบไม้ผลิ
ขนมสึกิมิดังโกะ( Tsukimidan- go) เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว ใช้ในพิธีชมจันทร์

ขอแนะนำชาญี่ปุ่นที่ดื่มในโอกาสต่างๆ
ชา shincha จะมีในเดือนพฤษภาคม เป็นชาแรกที่เก็บได้ของฤดู
ชา Mugicha หรือชาข้าวบาร์เลย์ นิยมดื่มใน ฤดู ร้อน
ชา sakurayu ดื่มในโอกาสงานมงคลเป็นชาที่ได้จากการชงน้ำร้อนกับกลีบกุหลาบแทนชาเขียว แล้วปรุงรสด้วยเกลีอ


Wednesday, August 18, 2010

ชาเครื่องดื่มสุขภาพ

tea

ชา เป็นเคื่รองดื่มที่ดีต่อสุขภาพและมีประโยชน์ต่อมากมาย ชาวจีนรู้จักการดื่มชาและปลูกชา มากว่า 2000 ปีแล้ว ในสมัยโบราณเชื่อว่าชามีคุณสมบัติช่วยชะล้างไขมัน สิ่งสกปรก และเชื้อโรคต่างๆ โดยเฉพาะสารพิษในกระเพาะอาหาร เมื่อมีอาการท้องเสีย จึงดื่มชาบรรเทาอาการได้ สอดคล้องกับที่การวิจัยสมัยใหม่พบว่าชามีสารแทนนินซึ่งมีสรรพคุณดังกล่าว นอกจากนั้น ยังพบว่าชามีสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และสาร epigallocatechin-3-gallate ที่ช่วยต้านมะเร็ง ชามีคาเฟอีน แต่ไม่มากเท่ากับ
กาแฟ
ชาจากต้นชามีประโยชน์กับสุขภาพ แต่ชาจากสมุนไพรมีสรรพคุณต้านโรคโดยตรง ชาวตะวันตกดื่มชาสมุนไพรมานมนานแล้ว สมุนไพรที่นิยมนำมาทำชาในสมัยก่อนมีอาทิ สะระแหน่ กานพลู ผิวเลมอนและดอกจันทน์เทศ เป็นต้น แต่ตอนนั้นชาวตะวันตกจะเรียกชาสมุนไพรว่า “tisane” (อ่านว่า ติ-แซน) และเพิ่งเปลี่ยนมาเรียก herbal tea ในสมัยปลายศตวรรษที่ 20 นี่เอง ตั้ง แต่นั้นเป็นต้นมาชาสมุนไพรได้รับ ความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็วในฐานะเครื่องดื่มสุขภาพ ในตะวันตกสมุนไพรที่นิยมนำมาชงเป็นชาติมากขึ้นอย่าง
รวดเร็ว เช่น ดอกคาร์โมไมล์ รากวาเลเรียน(valerian) ดอกเซนต์จอห์น เวิร์ท (St. John'swort) เมล็ดเฟนเนล เป็นต้น
ในตะวันออกซึ่งอุดมด้วยสมุนไพรเขตร้อนอยู่แล้ว ชาสมุนไพรหลายๆตัวได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีสรรพคุณรักษาโรค โดยเฉพาะชาสมุนไพรจีน เช่น น้ำเก๊กฮวย น้ำใบบัวบก น้ำจับเลี้ยง ฯลฯ
เมื่อกระแสชาสมุนไพรกระจายไปทั่ว ก็ยิ่งมีชาสมุนไพรตัวใหม่ๆออกมา เช่น เจียวกู่หลาน ดอกขี้เหล็ก ตะไคร้ รางจืดใบหม่อน ดอกคำฝอย ฯลฯ
ชาสมุนไพรส่วนใหญ่ที่ใช้ส่วนดอกและใบ เตรียมได้ด้วยวิธีชง (Infusion) สำหรับส่วนราก เหง้า เปลือก หรือส่วนอื่นๆทีมีลักษณะแข็ง ต้องเตรียมด้วยวิธีต้มชาสมุนไพร ควรดื่มแบบร้อนเพื่อให้ได้กลิ่นหอมเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ชาสมุนไพรหลายชนิดก็ดื่มแบบเย็นได้ดี ชาสมุนไพรแบบเย็นเรียก herbal drinks
แบบร้อนเรียก herbal tea
แต่อย่างไรก็ดี Tea และ HerbaI Tea คือ เครื่องดื่มอมตะ ที่ดีต่อสุขภาพ

Thursday, August 12, 2010

ชาดอกคำฝอย

ชาดอกคำฝอย
ชาดอกคำฝอย
ดอกคำฝอยเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว
เรียงสลับ ใบคล้ายรูปวงรี ขอบใบหยัก ปลายเป็นหนามแหลม ดอกช่อออก
ที่ปลายยอด มีดอกย่อยจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆจะมีสีเหลืองและจะเปลี่ยนเป็นสีแดง

ผล เป็นผลแห้งไม่แตก ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง
ชาดอกคำฝอยเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร บำรุงสุขภาพ บำรุงเลือดลมได้ดี

วิธีทำชาดอกคำฝอย
1. นำส่วนที่เป็นดอกมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วซอยเป็นชิ้นบางๆ
2. นำขึ้นใส่ตะแกรงตากแดดประมาณ 2-3 แดด จนแห้ง หรือจะใช้วิธีอบโดยใช้เตาอบก็ได้
3. เก็บบรรจุใส่ภาชนะที่มิดชิด และเก็บไว้ในที่แห้ง ไม่อับชื้น
4. หากต้องการความหอมอีกรสชาติหนึ่ง ก็ให้นำชาที่แห้งแล้วไปคั่วไฟอ่อนๆ ก่อนนำมาชง

สรรพคุณของชาดอกคๆฝอย
เป็นยาบำรงหัวใจ บำรุงปรัสาท ขับระดู ลดไขมันในเลือด ขับเหงื่อ
เป็นยาระบายอ่อนๆ ระงับอาการปวดในสตรีที่มีรอบเดือนไม่ปกติ บารุงเลือดสตรี

ข้อแนะนำการดื่มชาดอกคำฝอย
1.ใช้ได้ทั้งแบบชงเหมือนชาทั่วๆไป หรือใช้วิธีต้มกับน้ำ แล้วกรองเก็บใส่ขวดแช่เย็นไว้ดื่มก็ได้
2.ดื่มชาดอกคำฝอยได้ทุกวัน ทำให้เลือดลมหมุนเวียนดี

Thursday, August 5, 2010

ชาตะไคร้

ตะไคร้
ตะไคร้


ชาตะไคร้
ตะไคร้เป็นพืชล้มลุก มีอายุอยู่ได้หลายปี ลำต้นตั้งตรง อยู่รวมทันเป็นกอ มีข้อ และปล้องสั้นค่อนข้างแข็ง ลำต้นส่วนบนจะอ่อนและมีใบเรียงซ้อนสลับกันแน่น ใบมีกาบใบ ตัวใบเรียวยาว เนื้อใบหยาบและมีขน ดอกออกเป็นช่อยาวมาก ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำหน่อ
**สรรพคุณของชาตะไคร้
ชาตะไคร้จะช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน ขับปัสสาวะ
ช่วยย่อยอาหาร แก้ลมวิงเวียน แก้ปวดเกรงในท้อง และช่วยขับเหงื่อ และ
ยังมีรายงานวิจัยว่าตะไคร้ยังมีคุณสมบัติต้านมะเร็งได้ด้วย

ชาตะไคร้
วีธีทำชาตะไคร้
1. ตัดแต่งเอาแต่ต้นตะไคร้ขึ้นมาโดยมีใบและลำต้นติดมาด้วย จากนั้นให้ตัดใบและลำต้นให้เป็นท่อนเล็กๆ ล้างน้ำให้สะอาด แล้วใส่เครื่องปั่นจนเกือบละเอียด หากไม่มีเครื่องปั่น ให้ใช้วิธีสับ จนเกือบละเอียด
2. นำขึ้นใส่ตะแกรงตากแดดประมาณ 2-3 แดด จนแห้ง (หากมีเตาอบก็ให้ใช้เตาอบผ่านความร้อนได้เลย)
3. เก็บบรรจุใส่ภาชนะที่มิดชิด และเก็บไว้ในที่แห้ง ไม่อับชื้น
4. หากต้องการความหอมอีกรสชาติหนึ่ง ให้น้ำตาที่แห้งแล้วไปคั่ว ไฟอ่อนๆ ก่อนนำมาชงได้

**ข้อแนะนำ**
1.หากใช้ชาตะไคร้ที่ปั่นละเอียด เวลาชงให้กริงชาผ่านผ้าขาวบางห่อชาแล้วใช้เชือกผูกเป็นห่อ ชงผ่านน้ำร้อน
2.ชาตะไคร้สามารถชงดื่มได้ทุกวันและช่วยให้เจริญอาหาร ทำให้เลือดลมหมุนเ

Thursday, July 29, 2010

ชาใบหม่อน

ใบหม่อน



ชาใบหม่อน
ต้นหม่อนเป็นพืชยืนต้นใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันใบคล้ายรูปไข่
ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ผิวใบสากคายใบของต้นหม่อน
ใช้เลี้ยงตัวไหม ดอกออกเป็นช่อคล้ายรูปทรงกระบอกออกตามซอกใบ
กลีบดอกสีขาวหรือตขาวแกมเขียว ผลเป็นผลรวม คล้ายูทรงกระบอก เมื่อ
สุกมีสีม่วงแดงและกินได้ รสเปรี้ยว หวาน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่งพันธุ์

การทำชาใบหม่อน
1. เด็ดส่วนใบของหม่อน นำมาล้างน้ำให้สะอาด หลังจากนั้นนำมาซอยให้เป็นชิ้นเล็กๆ
2. นำขึ้นใส่ตะแกรงตากแดดประมาณ 2-3 แดด จนแห้ง หรือจะใช้วีธีนำเข้าเตาอบ ผ่านความร้อนก็ได้เช่นกัน
3. เก็บบรรจุใส่ภาชนะที่มิดชิด และเก็บไว้ในที่แห้งไม่อับชื้น
4. หากต้องการความหอมอีกรสชาติหนึ่ง ให้นำชาที่แห้งแล้ว ไปคั่วไฟอ่อนๆ ก่อนนำมาชงก็ได้ พื่อเพิ่มกลิ่นและรสของชาใบหม่อน
ชาใบหม่อน
สรรพคุณของชาใบหม่อน
ชาใบหม่อนมีสรรพคุณแก้ไข้ตัวร้อน แก้กระหายน้ำ แก้หวัด แก้ไอ แก้หอบหืด แก้หลอด
ลมอักเสบ ระงับประสาท ลดคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดอาการกระดูกผุ มีสารต้านมะเร็ง บำรุงสายตา บำรุงผมไม่ให้หงอกก่อนวัย น้ำชาที่เย็นแล้ว นำมาล้างตา แก้ตาแดง ตาแฉะ และตาฝ้าฟางได้ หากดื่มเป็นประจำทุกวันจะช่วยบำรุงสุขภาพ

Wednesday, July 21, 2010

คุณภาพของชาสมุนไพร ดูอย่างไร



ชาถุงหรือใบชา ดีกว่ากัน..

ชาที่บรรจุอยู่ในถุงมีปริมาณชาน้อยมาก เพราะในถุงๆ หนึ่งจะมีชาไม่เกินสองกรัม ซึ่งไม่เพียงพอที่จะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพและไม่มีผลในการบำบัดหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยใดๆ และนอกจากชาถุงจะมีปริมาณชาน้อยเกินไปแล้ว ในขั้นตอนการบรรจุใส่ถุง ยังต้องผ่านกระบวนการหั่นซอย หรือบดชาให้ละเอียดเสียก่อน
นั่นหมายถึง ความล่าช้าในถุงจะสูญเสียน้ำมันหอมระเหยที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อการบำบัดไป แม้ว่าในถุงจะยังคงมีส่วนประกอบทีทรงพลัง แต่ก็มี น้อยมากและไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสุขภาพเช่นเดียวกัน ดังนั้น หากคุณคิดจะดื่มชาเพื่อสุขภาพอย่าแท้จริง ชาถุงก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีอย่างแน่ นอน เว้นเสียแต่ว่าคุณเพียงต้องการลิ้มลองรสชาติเครื่องดื่มชนิดใหม่ที่มีชื่อว่าชาติเป็นอีกเรื่อง

แต่หากกำลังเสาะหาอะไรบางอย่างที่มีความหมายมากกว่าเพียงรสชาติ คุณควรต้องเลือกที่เป็นใบชา เพราะใบชาไม่ผ่านกระบวน การผลิตมากนัก ดังนั้น ใบชาจึงมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและบำบัดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ใบชาหนึ่งถ้วยจะมีน้ำหนักตั้งแต่ 3-5 กรัม สามารถนำกลับมาชงได้เพิ่มอีกหนึ่งถ้วย ซึ่งเป็นปริมาณมาตรฐานสำหรับการบำรุงและการบำบัด เบื้องต้น

ควรคัดสรรค์แต่สมุนไพรที่มีคุณภาพสูง
นักสมุนไพรบำบัดที่ดีจะต้องหมั่นคัดสรรและเลือกใช้เฉพาะ
สมุนไพรที่มีคุณภาพสูงเท่านั้น นั่นหมายความว่าส่วนประกอบในชาสมุนไพรที่พวกเขานำมาใช้บำบัดจะเป็น ส่วนประกอบที่ทรงพลัง มีปริมาณเพียงพอและเหมาะสมกับการบำบัดอาการต่างๆ ในแต่ละอาการ รวมทั้งมีกลิ่น หอม มีรสชาติดีและมีความบริสุทธิ์เหนือระดับมาตรฐาน
กลิ่นหอม สีสันและรสชาติ
ปัจจัยที่บ่้ึงถึงคุณภาพของชาสมุนไพรที่สำคัญมากที่สุดคือกลิ่นหอม สีสันและรสชาติของสมุนไพรนั้นๆ เพราะยิ่งมีกลิ่นหอมมาก นั่นแสดงว่ ปริมาณน้ำมันหอมระเหยมีสูง ในขณะที่สีและรสชาติเข้มข้นเป็นเครื่องชี้ใหเห็นถึงส่วนประกอบที่ทรงพลัง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะบอกคุณได้ว่าชาสมุนไพร นั้นๆ เป็นชาสมุนไพรที่มีคุณภาพสูงหรือต่ำเพียงใด โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นชาปลอดสารพิษหรือเป็นชาที่ปลูกโดยใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง หรือไม่ แต่ก็แน่นอนว่าชาปลอดสารพิษ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงและไม่มีสารกันบูด ย่อมเป็นชาที่มีคุณภาพสูงสุดและปลอดภัย มากที่สุด โดยเฉพาะกับเด็กๆ และสตรีมีครรภ์

ทำตัวเป็นนักดื่มที่มีข้อมูล
เมื่อคิดจะดื่มชาสมุนไพรชนิดและยี่ห้อใด อย่ากลัวการสอบถามข้อมูลจากผู้ผลิตหรืออ่านสลากให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนซื้อ รวมทั้งควรต้อง ตรวจสอบหีบห่อด้วยว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่มีรอยฉีกขาดและเมื่อแกะหีบห่อออกมาแล้วก็ควรต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดและ เก็บไว้ในตู้เย็นหรือในที่ที่มีอุณหภูมิที่ระดับหรือต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียสนอกจากนี้ ควรต้องจำไว้ด้วยว่าแม้คณจะสามารถนำมาที่เหลือในถ้วย กลับมาชงไต้ใหม่ แต่อย่าปล่อยกากทิ้งไว้นานเกินสองสาม ชั่วโมง

คำแนะนำในการเลือกชาสมุนไพรทีมีคุณภาพ

1. เลือกชนิดที่เป็นใบชาแทนชาถุง เพราะใบชายังคงมีน้ำมันหอมระเหยที่เป็นปัจจัยสำคัญในการบำบัดใน์โรมาณที่เพียงพอและมีรสชาติดีกว่า

2. ลองรสชาติจากชาหลายๆ ชนิดและหลายๆ ยี่ห้อเพื่อค้นหาชนิดและยี่ห้อที่มีกลิ่นหอม มีสีสันสดใสและมีรสชาติเข้มข้น

3. มองหาชาที่บรรจุในภาชนะสุญญากาศหรือมีสพารไนโตรพเจนดูดซับความชื้น (ซองบรรจุภรไนโตรเจนผงต้องไม่มีรอยรั่วซึม )

4. เลือกชาชนิดปลอดสารพิษเสมอ