Wednesday, August 18, 2010

ชาเครื่องดื่มสุขภาพ

tea

ชา เป็นเคื่รองดื่มที่ดีต่อสุขภาพและมีประโยชน์ต่อมากมาย ชาวจีนรู้จักการดื่มชาและปลูกชา มากว่า 2000 ปีแล้ว ในสมัยโบราณเชื่อว่าชามีคุณสมบัติช่วยชะล้างไขมัน สิ่งสกปรก และเชื้อโรคต่างๆ โดยเฉพาะสารพิษในกระเพาะอาหาร เมื่อมีอาการท้องเสีย จึงดื่มชาบรรเทาอาการได้ สอดคล้องกับที่การวิจัยสมัยใหม่พบว่าชามีสารแทนนินซึ่งมีสรรพคุณดังกล่าว นอกจากนั้น ยังพบว่าชามีสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และสาร epigallocatechin-3-gallate ที่ช่วยต้านมะเร็ง ชามีคาเฟอีน แต่ไม่มากเท่ากับ
กาแฟ
ชาจากต้นชามีประโยชน์กับสุขภาพ แต่ชาจากสมุนไพรมีสรรพคุณต้านโรคโดยตรง ชาวตะวันตกดื่มชาสมุนไพรมานมนานแล้ว สมุนไพรที่นิยมนำมาทำชาในสมัยก่อนมีอาทิ สะระแหน่ กานพลู ผิวเลมอนและดอกจันทน์เทศ เป็นต้น แต่ตอนนั้นชาวตะวันตกจะเรียกชาสมุนไพรว่า “tisane” (อ่านว่า ติ-แซน) และเพิ่งเปลี่ยนมาเรียก herbal tea ในสมัยปลายศตวรรษที่ 20 นี่เอง ตั้ง แต่นั้นเป็นต้นมาชาสมุนไพรได้รับ ความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็วในฐานะเครื่องดื่มสุขภาพ ในตะวันตกสมุนไพรที่นิยมนำมาชงเป็นชาติมากขึ้นอย่าง
รวดเร็ว เช่น ดอกคาร์โมไมล์ รากวาเลเรียน(valerian) ดอกเซนต์จอห์น เวิร์ท (St. John'swort) เมล็ดเฟนเนล เป็นต้น
ในตะวันออกซึ่งอุดมด้วยสมุนไพรเขตร้อนอยู่แล้ว ชาสมุนไพรหลายๆตัวได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีสรรพคุณรักษาโรค โดยเฉพาะชาสมุนไพรจีน เช่น น้ำเก๊กฮวย น้ำใบบัวบก น้ำจับเลี้ยง ฯลฯ
เมื่อกระแสชาสมุนไพรกระจายไปทั่ว ก็ยิ่งมีชาสมุนไพรตัวใหม่ๆออกมา เช่น เจียวกู่หลาน ดอกขี้เหล็ก ตะไคร้ รางจืดใบหม่อน ดอกคำฝอย ฯลฯ
ชาสมุนไพรส่วนใหญ่ที่ใช้ส่วนดอกและใบ เตรียมได้ด้วยวิธีชง (Infusion) สำหรับส่วนราก เหง้า เปลือก หรือส่วนอื่นๆทีมีลักษณะแข็ง ต้องเตรียมด้วยวิธีต้มชาสมุนไพร ควรดื่มแบบร้อนเพื่อให้ได้กลิ่นหอมเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ชาสมุนไพรหลายชนิดก็ดื่มแบบเย็นได้ดี ชาสมุนไพรแบบเย็นเรียก herbal drinks
แบบร้อนเรียก herbal tea
แต่อย่างไรก็ดี Tea และ HerbaI Tea คือ เครื่องดื่มอมตะ ที่ดีต่อสุขภาพ

Thursday, August 12, 2010

ชาดอกคำฝอย

ชาดอกคำฝอย
ชาดอกคำฝอย
ดอกคำฝอยเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว
เรียงสลับ ใบคล้ายรูปวงรี ขอบใบหยัก ปลายเป็นหนามแหลม ดอกช่อออก
ที่ปลายยอด มีดอกย่อยจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆจะมีสีเหลืองและจะเปลี่ยนเป็นสีแดง

ผล เป็นผลแห้งไม่แตก ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง
ชาดอกคำฝอยเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร บำรุงสุขภาพ บำรุงเลือดลมได้ดี

วิธีทำชาดอกคำฝอย
1. นำส่วนที่เป็นดอกมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วซอยเป็นชิ้นบางๆ
2. นำขึ้นใส่ตะแกรงตากแดดประมาณ 2-3 แดด จนแห้ง หรือจะใช้วิธีอบโดยใช้เตาอบก็ได้
3. เก็บบรรจุใส่ภาชนะที่มิดชิด และเก็บไว้ในที่แห้ง ไม่อับชื้น
4. หากต้องการความหอมอีกรสชาติหนึ่ง ก็ให้นำชาที่แห้งแล้วไปคั่วไฟอ่อนๆ ก่อนนำมาชง

สรรพคุณของชาดอกคๆฝอย
เป็นยาบำรงหัวใจ บำรุงปรัสาท ขับระดู ลดไขมันในเลือด ขับเหงื่อ
เป็นยาระบายอ่อนๆ ระงับอาการปวดในสตรีที่มีรอบเดือนไม่ปกติ บารุงเลือดสตรี

ข้อแนะนำการดื่มชาดอกคำฝอย
1.ใช้ได้ทั้งแบบชงเหมือนชาทั่วๆไป หรือใช้วิธีต้มกับน้ำ แล้วกรองเก็บใส่ขวดแช่เย็นไว้ดื่มก็ได้
2.ดื่มชาดอกคำฝอยได้ทุกวัน ทำให้เลือดลมหมุนเวียนดี

Thursday, August 5, 2010

ชาตะไคร้

ตะไคร้
ตะไคร้


ชาตะไคร้
ตะไคร้เป็นพืชล้มลุก มีอายุอยู่ได้หลายปี ลำต้นตั้งตรง อยู่รวมทันเป็นกอ มีข้อ และปล้องสั้นค่อนข้างแข็ง ลำต้นส่วนบนจะอ่อนและมีใบเรียงซ้อนสลับกันแน่น ใบมีกาบใบ ตัวใบเรียวยาว เนื้อใบหยาบและมีขน ดอกออกเป็นช่อยาวมาก ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำหน่อ
**สรรพคุณของชาตะไคร้
ชาตะไคร้จะช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน ขับปัสสาวะ
ช่วยย่อยอาหาร แก้ลมวิงเวียน แก้ปวดเกรงในท้อง และช่วยขับเหงื่อ และ
ยังมีรายงานวิจัยว่าตะไคร้ยังมีคุณสมบัติต้านมะเร็งได้ด้วย

ชาตะไคร้
วีธีทำชาตะไคร้
1. ตัดแต่งเอาแต่ต้นตะไคร้ขึ้นมาโดยมีใบและลำต้นติดมาด้วย จากนั้นให้ตัดใบและลำต้นให้เป็นท่อนเล็กๆ ล้างน้ำให้สะอาด แล้วใส่เครื่องปั่นจนเกือบละเอียด หากไม่มีเครื่องปั่น ให้ใช้วิธีสับ จนเกือบละเอียด
2. นำขึ้นใส่ตะแกรงตากแดดประมาณ 2-3 แดด จนแห้ง (หากมีเตาอบก็ให้ใช้เตาอบผ่านความร้อนได้เลย)
3. เก็บบรรจุใส่ภาชนะที่มิดชิด และเก็บไว้ในที่แห้ง ไม่อับชื้น
4. หากต้องการความหอมอีกรสชาติหนึ่ง ให้น้ำตาที่แห้งแล้วไปคั่ว ไฟอ่อนๆ ก่อนนำมาชงได้

**ข้อแนะนำ**
1.หากใช้ชาตะไคร้ที่ปั่นละเอียด เวลาชงให้กริงชาผ่านผ้าขาวบางห่อชาแล้วใช้เชือกผูกเป็นห่อ ชงผ่านน้ำร้อน
2.ชาตะไคร้สามารถชงดื่มได้ทุกวันและช่วยให้เจริญอาหาร ทำให้เลือดลมหมุนเ

Thursday, July 29, 2010

ชาใบหม่อน

ใบหม่อน



ชาใบหม่อน
ต้นหม่อนเป็นพืชยืนต้นใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันใบคล้ายรูปไข่
ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ผิวใบสากคายใบของต้นหม่อน
ใช้เลี้ยงตัวไหม ดอกออกเป็นช่อคล้ายรูปทรงกระบอกออกตามซอกใบ
กลีบดอกสีขาวหรือตขาวแกมเขียว ผลเป็นผลรวม คล้ายูทรงกระบอก เมื่อ
สุกมีสีม่วงแดงและกินได้ รสเปรี้ยว หวาน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่งพันธุ์

การทำชาใบหม่อน
1. เด็ดส่วนใบของหม่อน นำมาล้างน้ำให้สะอาด หลังจากนั้นนำมาซอยให้เป็นชิ้นเล็กๆ
2. นำขึ้นใส่ตะแกรงตากแดดประมาณ 2-3 แดด จนแห้ง หรือจะใช้วีธีนำเข้าเตาอบ ผ่านความร้อนก็ได้เช่นกัน
3. เก็บบรรจุใส่ภาชนะที่มิดชิด และเก็บไว้ในที่แห้งไม่อับชื้น
4. หากต้องการความหอมอีกรสชาติหนึ่ง ให้นำชาที่แห้งแล้ว ไปคั่วไฟอ่อนๆ ก่อนนำมาชงก็ได้ พื่อเพิ่มกลิ่นและรสของชาใบหม่อน
ชาใบหม่อน
สรรพคุณของชาใบหม่อน
ชาใบหม่อนมีสรรพคุณแก้ไข้ตัวร้อน แก้กระหายน้ำ แก้หวัด แก้ไอ แก้หอบหืด แก้หลอด
ลมอักเสบ ระงับประสาท ลดคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดอาการกระดูกผุ มีสารต้านมะเร็ง บำรุงสายตา บำรุงผมไม่ให้หงอกก่อนวัย น้ำชาที่เย็นแล้ว นำมาล้างตา แก้ตาแดง ตาแฉะ และตาฝ้าฟางได้ หากดื่มเป็นประจำทุกวันจะช่วยบำรุงสุขภาพ

Wednesday, July 21, 2010

คุณภาพของชาสมุนไพร ดูอย่างไร



ชาถุงหรือใบชา ดีกว่ากัน..

ชาที่บรรจุอยู่ในถุงมีปริมาณชาน้อยมาก เพราะในถุงๆ หนึ่งจะมีชาไม่เกินสองกรัม ซึ่งไม่เพียงพอที่จะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพและไม่มีผลในการบำบัดหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยใดๆ และนอกจากชาถุงจะมีปริมาณชาน้อยเกินไปแล้ว ในขั้นตอนการบรรจุใส่ถุง ยังต้องผ่านกระบวนการหั่นซอย หรือบดชาให้ละเอียดเสียก่อน
นั่นหมายถึง ความล่าช้าในถุงจะสูญเสียน้ำมันหอมระเหยที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อการบำบัดไป แม้ว่าในถุงจะยังคงมีส่วนประกอบทีทรงพลัง แต่ก็มี น้อยมากและไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสุขภาพเช่นเดียวกัน ดังนั้น หากคุณคิดจะดื่มชาเพื่อสุขภาพอย่าแท้จริง ชาถุงก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีอย่างแน่ นอน เว้นเสียแต่ว่าคุณเพียงต้องการลิ้มลองรสชาติเครื่องดื่มชนิดใหม่ที่มีชื่อว่าชาติเป็นอีกเรื่อง

แต่หากกำลังเสาะหาอะไรบางอย่างที่มีความหมายมากกว่าเพียงรสชาติ คุณควรต้องเลือกที่เป็นใบชา เพราะใบชาไม่ผ่านกระบวน การผลิตมากนัก ดังนั้น ใบชาจึงมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและบำบัดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ใบชาหนึ่งถ้วยจะมีน้ำหนักตั้งแต่ 3-5 กรัม สามารถนำกลับมาชงได้เพิ่มอีกหนึ่งถ้วย ซึ่งเป็นปริมาณมาตรฐานสำหรับการบำรุงและการบำบัด เบื้องต้น

ควรคัดสรรค์แต่สมุนไพรที่มีคุณภาพสูง
นักสมุนไพรบำบัดที่ดีจะต้องหมั่นคัดสรรและเลือกใช้เฉพาะ
สมุนไพรที่มีคุณภาพสูงเท่านั้น นั่นหมายความว่าส่วนประกอบในชาสมุนไพรที่พวกเขานำมาใช้บำบัดจะเป็น ส่วนประกอบที่ทรงพลัง มีปริมาณเพียงพอและเหมาะสมกับการบำบัดอาการต่างๆ ในแต่ละอาการ รวมทั้งมีกลิ่น หอม มีรสชาติดีและมีความบริสุทธิ์เหนือระดับมาตรฐาน
กลิ่นหอม สีสันและรสชาติ
ปัจจัยที่บ่้ึงถึงคุณภาพของชาสมุนไพรที่สำคัญมากที่สุดคือกลิ่นหอม สีสันและรสชาติของสมุนไพรนั้นๆ เพราะยิ่งมีกลิ่นหอมมาก นั่นแสดงว่ ปริมาณน้ำมันหอมระเหยมีสูง ในขณะที่สีและรสชาติเข้มข้นเป็นเครื่องชี้ใหเห็นถึงส่วนประกอบที่ทรงพลัง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะบอกคุณได้ว่าชาสมุนไพร นั้นๆ เป็นชาสมุนไพรที่มีคุณภาพสูงหรือต่ำเพียงใด โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นชาปลอดสารพิษหรือเป็นชาที่ปลูกโดยใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง หรือไม่ แต่ก็แน่นอนว่าชาปลอดสารพิษ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงและไม่มีสารกันบูด ย่อมเป็นชาที่มีคุณภาพสูงสุดและปลอดภัย มากที่สุด โดยเฉพาะกับเด็กๆ และสตรีมีครรภ์

ทำตัวเป็นนักดื่มที่มีข้อมูล
เมื่อคิดจะดื่มชาสมุนไพรชนิดและยี่ห้อใด อย่ากลัวการสอบถามข้อมูลจากผู้ผลิตหรืออ่านสลากให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนซื้อ รวมทั้งควรต้อง ตรวจสอบหีบห่อด้วยว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่มีรอยฉีกขาดและเมื่อแกะหีบห่อออกมาแล้วก็ควรต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดและ เก็บไว้ในตู้เย็นหรือในที่ที่มีอุณหภูมิที่ระดับหรือต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียสนอกจากนี้ ควรต้องจำไว้ด้วยว่าแม้คณจะสามารถนำมาที่เหลือในถ้วย กลับมาชงไต้ใหม่ แต่อย่าปล่อยกากทิ้งไว้นานเกินสองสาม ชั่วโมง

คำแนะนำในการเลือกชาสมุนไพรทีมีคุณภาพ

1. เลือกชนิดที่เป็นใบชาแทนชาถุง เพราะใบชายังคงมีน้ำมันหอมระเหยที่เป็นปัจจัยสำคัญในการบำบัดใน์โรมาณที่เพียงพอและมีรสชาติดีกว่า

2. ลองรสชาติจากชาหลายๆ ชนิดและหลายๆ ยี่ห้อเพื่อค้นหาชนิดและยี่ห้อที่มีกลิ่นหอม มีสีสันสดใสและมีรสชาติเข้มข้น

3. มองหาชาที่บรรจุในภาชนะสุญญากาศหรือมีสพารไนโตรพเจนดูดซับความชื้น (ซองบรรจุภรไนโตรเจนผงต้องไม่มีรอยรั่วซึม )

4. เลือกชาชนิดปลอดสารพิษเสมอ

Wednesday, July 14, 2010

ประเพณีการชงชาสมุนไพร


ประเพณีการชงชาสมุนไพร
มีเทคนิคและขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไปนี้ :

1.ใช้เวลาดมดอมกลิ่นหอมของชาที่คัดสรรแล้วโดยตักใบชาหนึ่งช้อนชาต่อน้ำหนึ่งถ้วย แต่ในกรณีที่ต้องการชงชาที่มีผู้ดื่มมากกว่าหนึ่งคน ก็ให้ตักชาน้อยกว่านั้น อย่างเช่นต้องการชงชาที่มีผู้ดื่มหกคน ควรตักชาประมาณ 3-4 ช้อนชา สำหรับแปดคนก็อยู่ในราว5-6 ช้อนชา เราสามารถใช้กากชาที่เหลือจาการชงครั้งแรกได้ซ้ำอีกสองถึงสามครั้ง เพราะน้ำมันหอมระเหยและสารที่มีสรรพคุณในการบำบัดอื่นๆ จะทยอยออกจากสมุนไพรอย่างต่อเนื่องโดยไม่ทำให้รสชาติเปลี่ยนไป เพียงแค่เติมน้ำเดือดลงไปเพื่อการดื่มที่ต่อเนื่อง

2. เลือกโถหรือเหยือกแก้วทนความร้อน แทนโถหรือเหยือกกระเบื้องเคลือบ เพราะโถหรือเหยือกแก้ว จะช่วยให้ได้เเลเห็นความสวยงามของชาสมุนไพร ในขณะที่โถหรือเหยือกกระเบื้องเคลือบจะปิดบังทัศนียภาพที่สวยงามนี้ ที่สำคัญโถหรือเหยือกแก้วสามารถเก็บกักความร้อนได้ดีกว่าและไม่ทำให้รสชาติดั้งเดิมของชาเสียไป (การเก็บกักความร้อนในโถหรือเหยือกกระเบื้องเคลือบ ให้ใส่น้ำร้อนที่กำลังเดือดลงไปก่อนแล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที จากนั้นค่อยเทออกแล้วเริ่มชงชาตามที่ต้องการ) ต้องใช้น้ำสะอาดในการชงชาทุกครั้ง และถ้าน้ำประปามีกลิ่นหรือมีรสชาติของสารเคมีใดๆ

3.ให้ใช้น้ำกรองแทน ที่สำคัญู น้ำที่ต้มต้องเดือดได้ที่ ไม่ใช่ปล่อยให้เดือดนานเกินไปหรือเพียงแค่ร้อนจัดเท่านั้น เพราะน้ำที่เลือดได้ที่จะเป็นหลักประกันว่ารสชาติและสรรพคุณของชาจะยังคงอยู่ครบถ้วน

4.เทน้ำที่เดือดได้ที่ลงบนชาและเฝ้าดูการทำปฏิกิริยาของมันชาที่มีดอกและหน่ออ่อนจะสร้างความประทับใจให้คุณได้มากเป็นพิเศษเมื่อมันถูกน้ำร้อน เพราะดอกและหน่ออ่อนจะค่อยๆเบ่งบานและส่ายไปมา คล้ายสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล อีกทั้งสีสันก็แลดูสดใสน่าตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก และด้วยเหตุผลข้อนี้เองที่โถหรือหรือเหยือกแก้วทนความร้อนเป็นสิ่งที่ดีกว่าโถหรือเหยือกกระเบื้องเคลือบ

5.ชาสมุนไพรที่ทำจากใบและดอก ควรแช่น้ำเดือดนานประมาณ3-4 นาที แต่หากว่ามีผลและรากด้วยก็ควรแช่ทิ้งไวนานประมาณ 15 นาทีเพื่อให้น้ำเดือดซึ่งเข้าสู่ส่วนที่แข็งกว่าของสมุนไพรอย่างช้าๆ และสกัดเอากลิ่นและรสชาติ กับสรรพคุณทางยาออกมาโดยทั่วไป ควรดื่มชาในขณะที่กำลังอุ่นๆหรือในระดับอณุหภูมิห้อง (เย็นเองโดยไม่ได้เข้าตู้เย็น) ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากกลิ่นและรส
ชาติของชาสมุนไพรจะดีขึ้นในระดับอุณหภูมิที่ต่ำกว่า และยังเป็นการดีต่อสุขภาพเพราะเราไม่ต้องเสี่ยงกับปากและลิ้นพอง นอกจากนี้ ควรจิบชาเพียงเล็กน้อยก่อนเพื่อสำรวจรสชาติและดื่มอย่างช้าๆ จนหมด ในการทำชาสมุนไพรเย็น ชงชาตามปกติ ปล่อยทิ้งไว้ให้พออุ่นๆ แล้วนำไปแช่ในตู้เย็น หรือชงชาหนึ่งช้อนชาต่อน้ำเดือดครึ่งถ้วย แล้วใส่น้ำแข็งบดหรหรือน้ำแข็งก้อนก็ได และอย่าลืมนำ
กากชามาใช้ซ้ำอีกหนึ่งหรือสองครั้ง

ข้อควรจำ
*** เก็บโถหรือเหยือกชา มีไว้เพื่อใช้ในการชงชาโดยเฉพาะไม่ว่าจะเลือกโถหรือเหยือกชนิดใด เมื่อใช้ชงชาสมุนไพรแล้ว ต้องไม่นำไปใช้ทำอย่างอื่น เพื่อป้องกันไม่ให้รสชั้นดีของเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ หลงเข้ามาปะปน ไม่ว่าจะเป็น ชาดำ ชาเขียวหรือกาแฟ